ยางซึมเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหนต่อการขับขี่ พร้อมแนวทางแก้ไข
ไขข้อสงสัยยางซึมเกิดจากอะไร ทำไมเติมลมแล้วยังยางแบน
ตามปกติแล้วการใช้งานโดยทั่วไปของยางรถยนต์นั้น จะมีการอ่อนตัวอยู่ประมาณ 3 PSI ต่อเดือน แต่ถ้าหากสังเกตแล้วว่ายางรถยนต์ที่เพิ่งเติมลมนั้น กลับมาแบนอีกแล้วภายใน 1 – 2 วันประมาณ 25% ของที่เคยเติม สามารถสันนิษฐานได้เลยว่ายางรถยนต์นั้นกำลังเกิดอาการรั่วซึม
หากเจออาการดังกล่าวไม่ควรนิ่งนอนใจเป็นอันขาด เนื่องจากความผิดปกติของรถยนต์อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งส่งผลอันตรายต่อตัวเองและเพื่อนผู้เพื่อนร่วมใช้รถใช้ถนนได้ มาดูกันว่าสาเหตุของยางรั่วซึมและวิธีแก้ไขนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
รวมข้อสังเกต อาการแบบไหนที่ควรเปลี่ยนยาง
ยางรถรั่วซึมเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนถึงยางรถยนต์ที่เริ่มเสื่อมสภาพ แต่ยังมีอีกหลายสัญญาณเตือนที่ผู้ใช้รถควรรู้ หากฝืนใช้งานต่อไปอาจเกิดอันตรายที่ไม่คาดฝันได้ โดยมีวิธีตรวจสอบต่อไปนี้
- ตรวจดูอายุของยางรถยนต์ ซึ่งยางรถยนต์ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานยางประมาณ 5 ปี
- รถยนต์มีระยะวิ่งเกิน 50,000 กิโลเมตร
- หากยางรถยนต์เสื่อมสภาพแก้มยางจะมีรอยแตกอย่างเห็นได้ชัด
- ดอกยางลบเลือน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนลดลง
- ควบคุมทิศทางรถยากขึ้น ไม่ว่าจะขับตรงหรือเลี้ยวรถไม่สามารถทำได้ในทันที
ยางรถยนต์ซึมอันตรายไหม แก้ไข และป้องกันอย่างไรดี

ยางซึมอาจไม่อันตรายมากนักเมื่อเทียบกับอาการอื่น ๆ แต่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากล้อเป็นส่วนที่สำคัญของรถยนต์ที่ใช้ในการขับเคลื่อน เมื่อสภาพล้อไม่สมบูรณ์แม้ว่าจะขับขี่ได้แต่อาจเกิดอุบัติเหตุอันตราย ดังนั้นการตรวจสอบรู้สาเหตุว่าทำไมยางจึงซึม ช่วยให้หาวิธีรับมือแก้ไขและป้องกันได้ทันท่วงที
ยางรถยนต์ซึมเกิดจากสาเหตุอะไร
สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่ตัวยางเองหรือว่าที่ล้อ โดยมีปัญหาที่แตกต่างกันไป เช่น
- เกิดจากการขับขี่แล้วเหยียบทับสิ่งมีคม เช่น ตะปู เศษแก้ว โดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดรูรั่วขนาดเล็กซึ่งเป็นที่มาของยางซึมได้
- การขับรถผ่านหลุมลึกหรือเบียดขอบทาง อาจทำให้แก้มยางเสียหายจนเกิดรูรั่วได้
- ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ อาจทำให้แก้มยางอ่อนตัวลงทำให้เกิดรูรั่วได้
- ฝาปิดจุ๊บลมชำรุดหรือหล่นหาย ทำให้เศษหินขนาดเล็ก ฝุ่น น้ำ เข้าไปทำอันตรายที่วาล์วด้านในจนวาล์วรั่วเก็บลบไม่อยู่
ยางซึมสามารถซ่อมได้ไหม มีวิธีป้องกันอย่างไร
ยางซึมสามารถซ่อมได้โดยวิธีการซ่อมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละสาเหตุ มีตั้งแต่สามารถซ่อมเบื้องต้นด้วยตัวเองในกรณีที่รูรั่วนั้นมีขนาดเล็ก จนไปถึงเข้าศูนย์บริการ เช่น การเปลี่ยนล้อยางใหม่ มาดูกันว่าเราสามารถซ่อมและป้องกันยางซึมได้อย่างไรบ้าง
วิธีซ่อมแซมเบื้องต้น
ก่อนซ่อมแซมสามารถหาตำแหน่งรูรั่วของยางซึมด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น การนำน้ำที่ผสมผงซักฟอกฉีดไปที่ล้อ หากจุดไหนที่เกิดฟองจุดนั้นคือจุดที่เกิดรอยรั่วนั่นเอง เมื่อพบรอยรั่วแล้วสามารถแก้ไขซ่อมแซมเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ใช้วิธีการปะยางหากขนาดรอยรั่วนั้นมีขนาดเล็ก สามารถใช้การปะยางด้วยวิธีแทงใยไหม ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองได้ เหมาะสำหรับใช้ยางชั่วคราวเพื่อไปถึงร้านซ่อมได้ปลอดภัย
- เปลี่ยนฝาปิดจุ๊บลมที่ชำรุดทันที เมื่อตรวจสอบพบว่าฝาจุ๊บลมเกิดการชำรุดหรือหาย ควรเปลี่ยนแต่เนิ่น ๆ
- หากปัญหายางซึมเกิดขึ้นที่ล้อ ไม่ว่าจะล้อบิด มีสภาพไม่สมบูรณ์ สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เคาะ ดัด รีด เหมาะสำหรับล้อที่มีสภาพเสียหายเล็กน้อย
วิธีป้องกันยางซึม
- เปลี่ยนฝาปิดจุ๊บลมใหม่ทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนยาง เพื่อป้องกันฝาจุ๊บลมเสื่อมสภาพ
- หมั่นตรวจเช็กสภาพยางรถยนต์สม่ำเสมอ
- เปลี่ยนยางเสมอเมื่อถึงอายุการใช้งาน นอกจากจะป้องกันเรื่องยางซึมแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยขณะขับรถอีกด้วย
สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการแก้ไขและป้องกันยางรั่วซึม นั่นคือหมั่นตรวจสภาพรถสม่ำเสมอ ไม่มองข้ามอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนั้นเปลี่ยนยางรถยนต์ตามอายุการใช้งาน ไม่ฝืนใช้งานเกินอายุของยางรถยนต์ โดยสามารถค้นหายางรถยนต์คุณภาพสูงได้ที่ NEXEN TIRE สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ Nexen Tire Thailand และ หน้าเพจ Facebook ผ่าน inbox: m.me/NEXENTH