วิธีดูปียางรถยนต์ ใช้ได้กี่ปี เช็กอย่างไรว่ายางหมดอายุ
ยางรถยนต์เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อน แต่อายุยางรถยนต์นั้นก็สิ่งที่ผู้ใช้รถต้องความสำคัญ เพราะไม่ว่าจะเป็นยางชนิดไหนก็มีอายุการใช้งานที่จำกัด หากฝืนใช้ยางที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพก็จะทำให้ผู้ขับขี่ต้องเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอย่างแน่นอน แล้วแบบนี้เราจะดูปียางรถยนต์ได้อย่างไร วันนี้ NEXEN จะพาทุกคนไปเรียนรู้วิธีดูยางรถยนต์หมดอายุ สังเกตอย่างไรอายุการใช้งานยางรถยนต์ใช้ได้กี่ปี กี่ปีเปลี่ยน หาคำตอบกันได้ในบทความนี้
วิธีดูปียางรถยนต์หมดอายุเช็กอย่างไร
ปียางดูตรงไหน? เลขอายุยางรถยนต์จะถูกระบุไว้ตรงบริเวณแก้มยางใกล้ ๆ กับขอบล้อ โดยอายุยางรถยนต์จะถูกกำหนดเป็นเลข 4 หลักตามแบบ “WWYY” โดยแบ่งการอ่านวิธีการอ่านอายุยางรถยนต์ดังนี้
- ตัวเลข 2 หลักแรกจะบอกสัปดาห์ที่ผลิตยาง
- ตัวเลข 2 หลักสุดท้ายจะบอกเลข 2 ตัวสุดท้ายของปีคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ที่ผลิตยาง
ตัวอย่าง เช่น บนแก้มยางระบุตัวเลข 1422 หมายความว่ายางรถยนต์เส้นนี้ถูกผลิตขึ้นในสัปดาห์ที่ 14 ของปี ค.ศ. 2022 เมื่อตรวจดูตามปฏิทินก็จะทราบได้ว่ายางถูกผลิตในช่วงเดือนมีนาคม 2022
วิธีการระบุตัวเลขวันที่ผลิตยางรถยนต์แบบนี้เป็นวิธีการสากล ยางรถยนต์ทุกแบรนด์จะต้องมีการระบุเอาไว้ เพื่อความสะดวกในการคำนวณอายุยาง และรู้ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ยางเส้นนั้น ๆ ก่อนจะต้องเปลี่ยนยาง
ยางรถยนต์มีอายุการใช้งานกี่ปี ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่
อายุยางรถยนต์โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5 ปี โดยในแง่ของการใช้งาน ยาง 1 เส้นสามารถใช้งานได้ 40,000 – 50,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 3 – 5 ปี ถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม แต่นอกจากอายุยางรถยนต์แล้วก็ยังมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาณว่าควรเปลี่ยนยางรถยนต์ได้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ
นอกจากเรื่องอายุของยางที่เป็นปัจจัยในการเปลี่ยนยางแล้ว สภาพยางรถยนต์ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน โดยสภาพยางรถยนต์ที่ควรเปลี่ยนมีดังนี้
- ดอกยางจางลง ร่องลึกของดอกยางตื้นขึ้น มีรอยถลอกบริเวณผิวยาง
- แก้มยางมีรอยแตกที่เห็นได้อย่างชัดเจน ยางแบนเร็วกว่าปกติ
- ยางบวม ซึ่งจะเริ่มบวมตั้งแต่บริเวณแก้มยาง
2. อุบัติเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ บางครั้งก็ส่งผลกระทบต่อยางรถยนต์เช่นกัน และเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ อุบัติเหตุที่มักส่งผลกระทบต่อยางรถยนต์ ได้แก่
- ยางแตก หรือยางระเบิด มักเกิดจากการที่รถลื่นไถล ติดหล่มแล้วเร่งเครื่องจนยางแตก
- ยางรั่ว มักเกิดจากการขับรถไปเหยียบของมีคมบนพื้นถนน แล้วของมีคมนั้นกรีดยางจนรั่ว
- ยางปูดบวมจากการกระแทกหรือตกหลุม หากฝืนใช้งานอาจก่อให้เกิดอันตราย
การดูแลรักษายางรถยนต์อย่างถูกวิธี
ยางรถยนต์จะเสื่อมสภาพได้รวดเร็วขึ้นถ้าไม่มีการดูแลอย่างถูกวิธี เริ่มได้ตั้งแต่การเลือกยาง การจัดเก็บยาง และการใช้งานยาง ดังนี้
การเลือกยาง
- เลือกยางให้เหมาะขนาดรถ
รถยนต์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายขนาด ยางแต่ละเส้นจะระบุขนาดเอาไว้ ควรเลือกยางรถยนต์ที่มีขนาดพอดีกับรถยนต์ ไม่ควรเลือกล้อที่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อการขับขี่
- เลือกยางให้เหมาะกับการรับน้ำหนักรถ
ยางแต่ละเส้นจะมีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักไม่เท่ากัน เช่น ยางเส้นหนึ่งรับน้ำหนักได้ 450 กิโลกรัม/เส้น เท่ากับว่ารถคันนั้นจะรับน้ำหนักหลังจากใส่ยาง 4 เส้นได้ 1,800 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่เหมาะกับรถขนาดเล็กเท่านั้น
การจัดเก็บยาง
ยางรถยนต์เป็นอะไหล่ที่ต้องมีติดรถ ซึ่งยางที่ซื้อเป็นอะไหล่ควรจัดเก็บให้ถูกต้อง ควรตั้งยางเป็นแนวตั้ง เพื่อไม่ให้ยางเสียทรง และหากตั้งยางบนพื้น ควรหมั่นมาหมุนยางเพื่อเปลี่ยนจุดสัมผัสพื้นเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้ยางด้านใดด้านหนึ่งรับน้ำหนักมากจนเกินไป
การใช้งานยาง
หลังจากเปลี่ยนยางครบทั้ง 4 ล้อแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการใช้งานยางที่เหมาะสม เพื่อให้ยางใช้งานได้นานขึ้น
- เติมลมยางอยู่เสมอ ควรหมั่นเติมลมยางเป็นประจำ อย่าปล่อยให้ยางแบน เพราะลมยางที่อ่อนจะทำให้การรีดน้ำของยางทำได้ไม่ดี ส่งผลให้ยางยุบตัวและเคลื่อนตัวได้ช้า
- หลีกเลี่ยงทางขรุขระ ที่เต็มไปด้วยหินกรวด ของมีคมต่าง ๆ มีโอกาสทำให้ยางรั่ว และต้องเปลี่ยนยางก่อนเวลาอันควร หากเลี่ยงทางขรุขระได้ควรเลี่ยง
- หมั่นตรวจสภาพยางรถยนต์เป็นประจำ การตรวจสภาพยางรถยนต์อยู่เสมอ ช่วยให้เห็นปัญหาของยางได้อย่างรวดเร็ว พร้อมแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
สรุปเกี่ยวกับวิธีดูปียางรถยนต์หมดอายุ
อายุการใช้งานของรถยนต์มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนที่ 3 – 5 ปี หรือทุก ๆ การวิ่ง 50,000 กิโลเมตร แต่ก็มีโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนยางก่อนเวลา จึงจำเป็นต้องเช็กยางรถยนต์และเรียนรู้วิธีดูปียางรถยนต์ให้ดี หากยางเสื่อมสภาพหรือเกิดอุบัติเหตุจึงควรเลือกยางคุณภาพดีตั้งแต่ต้น ผู้ที่มองหายางคุณภาพดีต้องนึกถึงยาง NEXEN TIRE ที่ผลิตและจำหน่ายยางมาอย่างยาวนาน สามารถติดต่อเลือกซื้อและขอคำแนะนำเรื่องยางได้ที่ NEXEN TIRE THAILAND หรือ Facebook Inbox : m.me/NEXENTH ผ่านเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊ก m.me/NEXENT