ราคา พ.ร.บ รถยนต์ ที่ต้องจ่าย คุ้มครองอะไรบ้าง คนมีรถต้องรู้
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ จำเป็นหรือไม่ คุ้มครองเรื่องใดบ้าง
การประกันภัยรถยนต์ มีความสำคัญเป็นพิเศษด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรก คือให้ความคุ้มครองทางการเงินและความอุ่นใจในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ การโจรกรรม หรือความเสียหายต่อรถ อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และค่าซ่อมแซมหรือค่ารักษาพยาบาลก็สูงเกินไป การประกันภัยรถยนต์จึงช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินด้วยการครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้นประกันรถยนต์ภาคบังคับถือเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขับขี่สามารถรับผิดชอบทางการเงินสำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อื่นได้นั่นเอง โดยรวมแล้วการทำประกันภัยรถยนต์ ถือเป็นส่วนสำคัญของการเป็นเจ้าของรถอย่างมีความรับผิดชอบ ให้ความคุ้มครองทั้งตนเองและผู้อื่นบนท้องถนน
พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร ทำไมกฎหมายบังคับให้ทำ
ประกันรถยนต์ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ และประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซึ่งจะมีเงื่อนไข และความคุ้มครองที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ ประกันรถยนต์ที่เจ้าของรถสามารถเลือกซื้อ หรือไม่ซื้อ ได้อย่างอิสราะ ประกันประเภทนี้จะคุ้นเคยกันดีและเรียกกันติดปากว่า ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือประกันรถยนต์ชั้น 3 เป็นต้น ซึ่งประกันรถยนต์ชั้น 1 คือประกันที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด และเบี้ยประกันแพงสุด สำหรับความคุ้มครองประกันชั้น 1 คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณี ดังนี้
- รถยนต์สูญหาย
- รถยนต์ไฟไหม้
- รถยนต์น้ำท่วม
- คุ้มครองค่าเสียหายรถยนต์
- คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
- วงเงินประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา
- คุ้มครองชีวิตคู่กรณี
- ค่ารักษาพยาบาลคู่กรณี
- คุ้มครองทรัพย์สินคู่กรณี
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ประกันที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำ เพราะมีกฎหมายบังคับเอาไว้ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมายตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถ (ในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อ) ต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี ประกันประเภทนี้ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อเหตุการณ์ที่เจ้าของรถเป็นผู้ก่อ (ความรับผิดชอบทางกฎหมาย) และส่วนมากจะไม่คุ้มครองความเสียหายรถยนต์ของผู้เอาประกัน (ความรับผิดชอบทางทรัพย์สิน) ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ภาคบังคับยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นสำหรับใช้ต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปีอีกด้วย
นำรถที่ไม่มี พ.ร.บ. ไปใช้มีโทษอย่างไร
ผู้ขับขี่ที่นำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. หรือ ขาดต่อ พ.ร.บ. ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
รายละเอียดความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์
1. บาดเจ็บ
บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เคลมค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
2. ทุพพลภาพ
หากพิการจากอาการบาดเจ็บตามข้อ 1. ประกันจะจ่ายค่ารักษาเบื้องต้นเพิ่มให้จากข้อ 1. อีก 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
3. เสียชีวิต
หากเสียชีวิตทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุตามข้อ 1. บริษัทประกันจะจ่ายค่าทำศพ 35,000 บาทต่อคน หากเสียชีวิตระหว่างรักษาตัวประกันจะจ่ายเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท (เคลมได้ทันทีไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด) ในกรณีพิสูจน์ได้ว่าผู้ขับขี่ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด บริษัทประกันของฝ่ายนั้นจะรับผิดชอบแก่ผู้เสียหาย ได้แก่ กรณีบาดเจ็บรับค่าชดเชยไม่เกิน 80,000 บาท กรณีพิการหรือเสียชีวิต ชดเชยเป็นเงินทั้งสิ้น 500,000 บาท
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนดี
การทำพ.ร.บ. หรือต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ ต่อกับกรมขนส่งทางบกใกล้บ้าน หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือห้างสรรพสินค้า หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น-อีเลฟเว่น กับอีกช่องทางคือ ต่อพรบ.รถยนต์ออนไลน์ >> https://eservice.dlt.go.th
เอกสารที่ใช้สำหรับต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีอะไรบ้าง
กรณีรถใหม่อายุไม่เกิน 7 ปี
สำเนาบัตรประชาชน
สมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริง หรือสำเนา
เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
กรณีรถเก่าอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป
สำเนาบัตรประชาชน
สมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริง หรือสำเนา
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2566 กี่บาท
รถยนต์โดยสาร
-รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาท/ปี
-รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท/ปี
-รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท/ปี
-รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท/ปี
-รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท/ปี
-รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาท/ปี
รถกระบะ / รถบรรทุก
-รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท/ปี
-รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท/ปี
-รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท/ปี
รถยนต์ประเภทอื่น ๆ
-หัวรถลากจูง 2,370 บาท/ปี
-รถพ่วง 600 บาท/ปี
-รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท/ปี
นอกจากพ.ร.บ.รถยนต์จะสำคัญต่อผู้ใช้รถแล้ว การขับขี่บนท้องถนนให้ปลอดภัยจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ผู้ใช้รถควรตรวจเช็กสภาพรถยนต์ให้พร้อมก่อนใช้งานทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะยางรถยนต์ต้องแน่ใจว่ายางยังไม่เสื่อมสภาพ สามารถยึดเกาะถนนได้ดี รีดน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพบว่ายางสึก ยางบวม ยางหมดอายุ ควรเปลี่ยนยางรถยนต์เส้นใหม่ทันที ขอแนะนำยางรถยนต์ที่ดีที่สุด จาก NEXEN TIRE ผู้ผลิตยางรถยนต์รายแรกของประเทศเกาหลีใต้ มีประสบการณ์ผลิตยางมายาวนานกว่า 80 ปี เป็นที่ไว้ใจจากยี่ห้อรถชั้นนำให้ใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน (OEM)
ที่สำคัญยางรถยนต์ NEXEN TIRE ยังรับประกันเปลี่ยนฟรี 1 ปี หรือ 25,000 กิโลเมตร เมื่อเปลี่ยนยางใหม่ 4 เส้น (ต่อรถ 1 คัน ใน 1 ใบเสร็จ) พร้อมจัดส่งและติดตั้งฟรีทั่วประเทศ ณ ร้านตัวแทนจำหน่ายยางใกล้บ้านคุณ สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์ NEXEN TIRE เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้คุณได้ยางรถยนต์ที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด หรือสอบถามทาง Facebook Inbox : m.me/NEXENTH