fbpx

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ล่วงหน้าได้กี่วัน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องไปขนส่ง

การต่ออายุภาษีรถยนต์เป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถไม่ควรละเลย และจำเป็นต้องต่อทุกปีตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เนื่องจากการต่อภาษีรถยนต์มีผลทางกฎหมาย และมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของ พรบ. รถยนต์และประกันภัยต่าง ๆ โดยการจ่ายภาษีรถยนต์ในแต่ละปีทางหน่วยงานรัฐจะนำไปใช้เป็นงบประมาณเพื่อปรับปรุงการคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิวถนน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และก่อสร้างถนนเส้นทางใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนให้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ทุกปี แต่หลายคนอาจสงสัยอยู่หลายเรื่อง อย่างเช่น ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้กี่วัน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูล พร้อมขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ มาฝาก

ภาษีรถยนต์คืออะไร ผู้ใช้รถควรต่อตอนไหน

ภาษีรถยนต์คืออะไร

 

ภาษีรถยนต์ เป็นการจ่ายภาษีในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้ใช้งานรถยนต์ต้องทำการจ่ายทุกปี โดยเงินภาษีที่รัฐได้รับจะนำเป็นไปเป็นงบประมาณในการใช้ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมบนท้องถนน ผู้ใช้รถสามารถต่อภาษีประจำทุกปี และขอยื่นต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน เมื่อมีการต่อภาษีรถยนต์เสร็จสิ้น ผู้ต่อจะได้รับป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่จะระบุวันที่หมดอายุในครั้งถัดไป โดยการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีจะทำได้หลังจากการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีแล้ว ถ้าผู้ใช้รถขาดการต่อภาษีอาจจะต้องเสียค่าปรับและกากขาดการต่อเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถยนต์จะถูกสั่งยกเลิก ทางที่ดีอย่าลืมเช็กวันหมดอายุ เพื่อให้รถยนต์ของคุณสามารถวิ่งได้อย่างถูกกฎหมายบนท้องถนน

ประเภทรถที่ต้องมีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุไม่เกิน 5 ปี
  • รถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ ที่ ตรอ. สำหรับรถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี (รถยนต์) หรือ 5 ปี (รถมอเตอร์ไซค์)
  • ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ที่มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน

ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีออนไลน์ 

การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์มีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ดังนี้

  1. ค่าภาษีรถยนต์ประจำปี : ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของรถ
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
    • รถขนาดไม่เกิน 600 ซีซี : 100 – 600 บาท
    • รถขนาด 601-1800 ซีซี : 800 – 1,500 บาท
    • รถขนาดเกิน 1800 ซีซี : 1,600 – 5,000 บาท
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน : 300 – 3,200 บาท (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ)
  • รถกระบะ (รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล) : 300 – 3,200 บาท (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ)

          2. ค่า พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  • รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง : 600 บาท
  • รถยนต์นั่งเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง : 1,100 บาท
  • รถยนต์นั่งเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง : 2,050 บาท
  • รถยนต์นั่งเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง : 3,200 บาท
  • รถยนต์นั่งเกิน 40 ที่นั่ง : 3,740 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) : 900 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน : 1,220 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน : 1,310 บาท

          3. ค่าธรรมเนียมการทำรายการออนไลน์

  • การชำระผ่านหักบัญชีธนาคาร : อาจมีค่าธรรมเนียมประมาณ 20 บาทต่อรายการ (ขึ้นอยู่กับธนาคาร)
  • การชำระผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต : อาจมีค่าธรรมเนียมประมาณ 1 – 2% ของยอดชำระ
  • การชำระผ่าน QR Code หรือ Mobile Banking : ส่วนใหญ่ไม่มีค่าธรรมเนียม

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิว

ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์กรมขนส่งทางบก

การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์สามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ดังนี้

ขั้นตอนต่อภาษีออนไลน์ผ่านกรมขนส่งทางบก

  1. เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
  2. กด “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” (สำหรับผู้ใช้งานครั้งแรก)
  3. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตรวจสอบความถูกต้อง และกดปุ่ม “บันทึก”
  4. เข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่ลงทะเบียนไว้
  5. เลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” และ “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต”
  6. กดปุ่ม “ลงทะเบียนรถ” และระบุข้อมูลรถยนต์ให้ครบถ้วน
  7. ตรวจสอบข้อมูลรถยนต์อีกครั้ง และกดปุ่มในช่อง “ยื่นชำระภาษี”
  8. ระบุข้อมูลรถให้ครบ และกด “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”
  9. ระบุที่อยู่จัดส่งเอกสารให้ถูกต้อง และกด “เลือกวิธีการชำระเงิน”
  10. เลือกวิธีการชำระเงิน (หักบัญชีเงินฝาก, เคาน์เตอร์บริการ, หรือตู้ ATM)
  11. ตรวจสอบความถูกต้องครั้งสุดท้าย และกด “ยืนยัน”

ขั้นตอนต่อภาษีออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ DLT Vehicle Tax

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax จาก App Store หรือ Google Play
  2. เปิดแอปและกดปุ่ม “ลงทะเบียน”
  3. กรอกข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ-นามสกุล, อีเมล, เลขประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์)
  4. กดปุ่ม “กดเพื่อรับรหัส OTP” และกรอกรหัส OTP ที่ได้รับทางอีเมล
  5. ตั้งรหัส PIN 6 หลักสำหรับการเข้าใช้งานครั้งต่อไป
  6. เข้าสู่ระบบและเลือกเมนู “ชำระภาษีรถ”
  7. เลือกรูปแบบการชำระภาษี
  8. กรอกข้อมูลผู้ครอบครองรถ (เลขบัตรประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล)
  9. เลือกประเภทรถและกรอกข้อมูลทะเบียนรถ
  10. กรอกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)
  11. เลือกวิธีรับเครื่องหมายการเสียภาษี (ไปรษณีย์หรือตู้ Kiosk ในกรุงเทพฯ)
  12. เลือกช่องทางชำระเงิน (SCB Easy App หรือ QR ชำระเงิน)
  13. ชำระเงินและรอรับเอกสารตามช่องทางที่เลือก

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี ทำได้ไหม ใช้เอกสารอะไรบ้าง 

การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี

รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีสามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ แต่มีเงื่อนไขและข้อกำหนดเพิ่มเติม ดังนี้

เงื่อนไขการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี 

  1. ต้องผ่านการตรวจสภาพรถยนต์จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน
  2. รถต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี
  3. ต้องไม่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง
  4. สถานะทะเบียนรถต้องปกติ ไม่ถูกอายัดหรือระงับทะเบียน
  5. ต้องไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรือรถของหน่วยงานราชการ

เอกสารที่ใช้ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี 

  • ข้อมูลจากเล่มทะเบียนรถยนต์
  • หลักฐานการทำประกันภัย พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ

ต่อภาษีรถออนไลน์กี่วันได้

กรณียื่นต่อภาษีรถออนไลน์แล้วไม่พบความผิดพลาดใด ๆ กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสาร โดยระยะเวลาดำเนินตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • วันที่ชำระเงินภาษีรถยนต์ผ่านธนาคาร/สถาบันการเงินสำเร็จ
  • ธนาคาร/สถาบันการเงิน จัดส่งข้อมูลการชำระภาษีและจำนวนเงินให้กรมฯ 1 วันทำการถัดไป
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและยอดเงินที่ชำระจากธนาคาร/สถาบันการเงิน 1-2 วันทำการ
  • พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน (ป้ายวงกลม) พร้อมจัดเตรียมเอกสารเพื่อนำส่งไปรษณีย์ หลังจากยืนยันความถูกต้อง 1-2 วันทำการ
  • จัดส่งเอกสารให้กับผู้ชำระภาษีรถยนต์ทางไปรษณีย์ประมาณ 2-5 วันทำการ

** รวมระยะเวลาตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีออนไลน์สำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ ไม่เกิน 5 วันทำการ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการ หมายเลข EMS หรือกรณีพบข้อผิดพลาด ได้ที่เว็บไซต์ ที่ เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

จากข้อมูลที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าทางกรมขนส่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้รถมากยิ่งขึ้น ด้วยบริการต่อภาษีรถทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้รถของคุณไม่ต้องขาดการต่อภาษีประจำปี โดยรถที่จะดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี (หากค้างชำระเกิน 1 ปี ต้องดำเนินการตรวจสภาพรถใหม่ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. และต้องยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งเท่านั้น

นอกจากนี้การชำระภาษีรถยนต์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกสามารถชำระผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax อีกด้วย การต่อภาษีรถประจำปีอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ผู้ขับขี่ทุกคนได้รับความคุ้มครองพื้นฐานจากอุบัติเหตุทางถนนที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการสัญจร อย่างไรก็ตามก่อนออกเดินทางทุกครั้งอย่าลืม! ตรวจเช็กสภาพรถยนต์ให้พร้อมใช้งานเสมอ โดยเฉพาะยางรถยนต์ชิ้นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การเดินทางของคุณราบรื่น แนะนำยางรถยนต์คุณภาพดี ตอบโจทย์การใช้งานที่เหนือกว่าพร้อมรับประกันเปลี่ยนฟรี 1 ปี หรือ 25,000 กิโลเมตร เมื่อเปลี่ยนยางรถยนต์เส้นใหม่ 4 เส้นขึ้นไป (ต่อรถ 1 คัน ใน 1 ใบเสร็จ) จัดส่งและติดตั้งฟรีทั่วประเทศ ณ ร้านตัวแทนจำหน่ายยางใกล้บ้านคุณ สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์ NEXEN TIRE เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมตอบทุกคำถาม ให้คุณได้ยางรถยนต์ที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด Facebook Inbox : m.me/NEXENTH