น้ำมันเครื่องมีกี่แบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?
สำหรับเจ้าของรถหรือคนที่ขับรถสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องดูแลเป็นประจำก็คือ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ที่ต้องเปลี่ยนทุก ๆ 5,000-10,000 กม. หรือทุก ๆ 6 เดือน และเมื่อเราไปที่ศูนย์บริการ เรามักจะถูกถามว่าจะใช้น้ำมันประเภทไหน ธรรมดา สังเคราะห์ หรือกึ่งสังเคราะห์? และหลายครั้งที่เราตัดสินใจเลือกโดยขาดข้อมูลว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
ประเภทของน้ำมันเครื่อง
“น้ำมันเครื่อง” เป็นน้ำมันที่เราใช้สำหรับหล่อลื่นภายในเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างราบรื่น ป้องกันการสึกหรอ และยืดอายุการใช้งาน แต่หากว่าเราไม่เปลี่ยนถ่ายตามกำหนดระยะเวลา สิ่งสกปรกจากการสันดาปที่ตกค้างอยู่ก็จะไหลเวียนอยู่ในเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์หนืด และเร่งไม่ขึ้น และอาจจะส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหรือพังอีกด้วย
สำหรับระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ควรจะเกิน 6 เดือน หรือตามระยะทาง ตามอายุการใช้งานที่น้ำมันเครื่องกำหนดเอาไว้
สำหรับระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ควรจะเกิน 6 เดือน หรือตามระยะทาง ตามอายุการใช้งานที่น้ำมันเครื่องกำหนดเอาไว้
น้ำมันเครื่องทุกประเภทจะประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 2 ชนิด นั่นก็คือ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Base Oil) และสารเติมแต่ง โดยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจะมีทั้งการกลั่นจากน้ำมันดิบและการสังเคราะห์จากกระบวนการเคมี ส่วนสารเติมแต่งของทุกประเภทจะอยู่ที่ 10-25% โดยแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้
แบบธรรมดา (Synthetic Oil)
มีราคาถูกที่สุด อายุการใช้งานสั้นที่สุด คือใช้ได้ประมาณ 3,000-5,000 กิโลเมตร โดยส่วนที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจะกลั่นมาจากน้ำมันดิบหรือจากธรรมชาติทั้งหมด
กึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic Oil)
มีราคากลาง ๆ และได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้ได้ประมาณ 5,000-10,000 กิโลเมตร โดยส่วนที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจะผสมระหว่างการสังเคราะห์และกลั่นจากน้ำมันดิบ
สังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic Oil)
ราคาสูงที่สุด ใช้งานได้นานที่สุด คือ 10,000-15,000 กิโลเมตร ส่วนที่เป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานได้มาจากการสังเคราะห์หรือจากห้องแล็บทั้งหมด มีอัตราการระเหยต่ำ ช่วยป้องกันการสึกหรอและดูแลรักษาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการเลือกน้ำมันเครื่อง
สำหรับใครที่สงสัยว่าเราควรจะเลือกอย่างไร จึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพรถยนต์และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ยาวนาน เรามีวิธีง่าย ๆ มาฝากกัน
1. เลือกตามที่ระบุเอาไว้ในคู่มือรถยนต์ รถยนต์แต่ละคันมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในคู่มือรถยนต์จะแนะนำประเภทของน้ำมันเครื่อง ค่าความหนืดที่เหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งค่าความหนืดคือค่าความข้น-ใสของน้ำมันเครื่องนั่นเอง
ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องหรือ Society of Automotive Engineers (SAE) โดยจะเป็นตัวเลขรูปแบบ SAE XW-XX โดย X แทนตัวเลข
SAE คืออักษรที่แทนค่ามาตรฐานความหนืด
ตัวเลขชุดแรก XW คือค่าต้านทานความเป็นไข หรือ Winter Grade ซึ่งการขับขี่ในบ้านเราจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้มาก โดยมีค่าดังต่อไปนี้
- 5W ใช้ในอุณหภูมิต่ำว่า -30 องศาเซลเซียสไม่เป็นไข
- 10W ใช้ในอุณหภูมิต่ำว่า -20 องศาเซลเซียสไม่เป็นไข
- 15W ใช้ในอุณหภูมิต่ำว่า -10 องศาเซลเซียสไม่เป็นไข
- 20W ใช้ในอุณหภูมิต่ำว่า 0 องศาเซลเซียสไม่เป็นไข
ตัวเลขชุดหลัง คือความหนืดน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งเราจะเลือกให้มีความเหมาะสม เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. อายุของรถยนต์ หากว่าคู่มือรถยนต์หาย เราสามารถเลือกค่าความหนืดตามระยะการใช้งาน หากว่าเป็นรถใหม่ แนะนำให้เลือกค่าความหนืดอยู่ที่ประมาณ 30 แต่หากว่าเป็นรถเก่าเกิน 100,000 กม. ขึ้นไป อาจจะเพิ่มเป็น 40-50 เพื่อให้มีชั้นฟิล์มที่หนาขึ้น
3. ประเภทของเครื่องยนต์ จะแบ่งประเภทเป็นเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน ซึ่งเราจะต้องเลือกตามประเภทเครื่องยนต์ของเรา หากว่าเป็นน้ำมันดีเซลจะระบุไว้ที่ฉลากว่า Diesel ส่วนน้ำมันเบนซินจะระบุว่า Gasoline
4. เลือกตามระยะทางที่ใช้งาน หากว่าเราใช้งานรถน้อย เราอาจจะไม่ต้องเลือกน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์แท้ เพราะกว่าเราจะขับขี่ถึง 10,000 กม. อาจจะเกิน 6 เดือน ทำให้รถยนต์ขาดการซ่อมบำรุงอย่างต่อเนื่อง
5. เลือกตามพฤติกรรมการขับรถและใช้งาน ลองถามตัวเองว่าเราเป็นคนขับรถเร็วหรือเปล่า สำหรับคนที่ขับรถเร็ว ขับรถทางไกลบ่อย ๆ หรือใช้เครื่องยนต์อย่างหนักหน่วง ควรจะเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูง ประมาณ 30-50 เรียกว่ายิ่งขับรถเร็ว เครื่องยนต์มีการสันดาปในกระบอกสูบด้วยความถี่อย่างยิ่ง ก็ควรจะเลือกที่มีความหนืดเพิ่มขึ้น แต่หากว่าเราไม่ได้ขับเร็วอาจจะใช้ค่าความหนืดที่ 20-30 ได้เช่นกัน
6. ขนาดของเครื่องยนต์หรือประเภทของเครื่องยนต์ สำหรับรถสปอร์ต รถซูเปอร์คาร์ หรือรถแข่ง อาจจะจำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงสีใส ๆ เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดี แต่สำหรับรถเล็ก ๆ หรือรถอีโคคาร์ที่ใช้งานในเมืองเป็นหลัก อาจใช้ที่มีค่าความหนืดไม่สูงมากนักก็ได้ เพราะยิ่งมีความหนืดมากเท่าไร ก็จะยิ่งประหยัดน้ำมันน้อยลงเท่านั้น
7. เลือกน้ำมันเครื่องสูตรเฉพาะเครื่องยนต์ที่ต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น น้ำมันเครื่อง สำหรับรถยนต์ที่มีการติดแก๊สทั้งหลาย ทั้งน้ำมันเครื่อง For NGV, For LPG และน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ที่มีการใช้งานอย่างหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น For Heavy duty สำหรับรถที่บรรทุกหนัก เพื่อช่วยปกป้องเครื่องยนต์ที่มีลักษณะพิเศษ และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะ
ชาว Nexen อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด เพราะเป็นการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากว่าต้องการเปลี่ยนยางรถยนต์คุณภาพ ที่เหมาะกับรถและการขับขี่ของคุณ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Nexen Tire Thailand Line : @nexen.th หรือโทร. 02-930-4115-8